หลักสูตร "การสร้างความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ"
(Development of health literacy among Pre-aging)

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดาว เวียงคำ และคณะ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
1. เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ
2. เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรอบรู้ด้านสุขภาพ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้อง

เหตุผลและความจำเป็นในการจัดกิจกรรม
          ปัจจุบันการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนา“ความรอบรู้ด้านสุขภาพ” หรือ “Health Literacy” เพื่อสร้างความเข้าใจในประเด็นสุขภาพที่เกี่ยวข้องในชีวิตและพัฒนาขีดความสามารถในระดับบุคคลเพื่อการธำรงรักษาสุขภาพตนเองอย่าง โดยความรอบรู้ด้านสุขภาพ หมายถึง ความสามารถที่เกิดจาก กระบวนการเข้าถึง ทำความเข้าใจ ประเมินและประมวลผลเกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพที่ ได้รับ จนนำไปสู่การตัดสินใจแสดงพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อจัดการสุขภาพของตนเอง จากหลาย การศึกษา พบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม และผลลัพธ์ทางสุขภาพ อาทิเช่น ระดับ น้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต5 น้ำหนัก6 ผู้ที่มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพยังมีความสัมพันธ์กับการ ป้องกันโรค การรับวัคซีน และการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ7 ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลที่เพิ่มขึ้น แนวโน้มอัตราการใช้ยาตามคำแนะนำที่น้อยลง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์จาก การใช้ยามีส่วนร่วมกับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ มีความชุกของปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในมิติ สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคติดเชื้อ พบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์พฤติกรรมการ ป้องกันโรค คือการล้างมือ8หรือระดับความวิตกกังวล
          การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพหมายถึงการมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีสุขภาพจิตที่ดีสามารถปฏิบัติหน้าที่ประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีสุขภาพดีจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีคนทุกวัยจึงควรเตรียม ความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพในอนาคตความรอบรู้ด้านสุขภาพจึงมีความสำคัญ ของการเข้าถึงข้อมูล เข้าใจ ประเมินตัดสินใจ และการปรับใช้สำหรับประเทศไทยการดูแลสุขภาพอย่างไร เพื่อใช้ในการวางแผนการดำเนินการทั้งเสริมสร้างความรอบรู้สุขภาพในการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
1. กลุ่มประชากรในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัย (ชุมชนแม่กา) ประกอบด้วย อสม. ผู้นำชุมชน และคนทั่วไป
2. บุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปี 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) (สมรรถนะของผู้เข้าอบรมเมื่อจบกิจกรรม, สิ่งที่ผู้เข้าอบรมทำได้เมื่อจบกิจกรรม)
1. ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดำเนินชีวิตประจำวัน
2. ผู้เรียนสามารถนำความรอบรู้ด้านสุขภาพไปประยุกต์ใช้ในการดูแลตนเองครอบครัวและชุมชน

  • แบบทดสอบก่อนเรียน

  • ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
    11.00 นาที

  • ความรอบรู้เรื่องยา
    22.00 นาที

  • การรู้เท่าทันสื่อ
    7.00 นาที

  • แบบทดสอบหลังเรียน

การสร้างความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ

ผู้เรียน 16

เรียนฟรี

  • ลงทะเบียน 16/500
เพิ่มวิชาลงในตะกร้าเรียบร้อยแล้ว
ไปหน้าชำระเงิน
ดำเนินการลงทะเบียนเรียนเรียบร้อยแล้ว
เริ่มเรียน

{{ previewTitle }}
Loading...