หลักสูตร "การเตรียมความพร้อมทางกายก่อนสูงวัย"

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กภ.พุทธิพงษ์ พลคำฮัก และคณะ
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
1. เพื่อตรวจประเมินความสามารถทางกายในกลุ่มประชากรวัยทำงานและบุคลากรทางการแพทย์ขั้นพื้นฐาน
2. เพื่อตรวจประเมินผลทางห้องปฏิบัติการในกลุ่มประชากรวัยทำงานและบุคลากรทางการแพทย์ขั้นพื้นฐาน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
3. เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ด้านสุขภาพทางกายและผลทางห้องปฏิบัติการ แก่บุคลากร มหาวิทยาลัยพะเยา ช่วงอายุก่อนสูงวัย (40-60 ปี) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

เหตุผลและความจำเป็นในการจัดกิจกรรม
          เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางกายและการทำงาน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิต และระบบประสาท ซึ่งเป็นระบบที่สำคัญที่สะท้อนถึงความสามารถทางกาย ที่ส่งผลต่อความสามารถในการเคลื่อนไหว การช่วยเหลือตนเอง ทำให้มีความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยหรือการล้มขณะเคลื่อนไหว รวมถึงผลสืบเนื่องจากการล้มที่รุนแรง เช่น กระดูกหัก การสูญเสียความมั่นใจและเกิดข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว รวมถึงการมีปัญหาทางสุขภาพและความจำเป็นในการใช้ยา อย่างเช่นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases; NCDs)  ที่พบว่ามีอุบัติการณ์ที่สูงขึ้น และพบการเปลี่ยนแปลงความสามารถทางกายที่ลดลง ส่งผลให้การทำงานหรือกิจวัตรประจำวันได้เองลดลงไปด้วย เป็นเหตุให้นำไปสู่ความจำเป็นที่ต้องพึ่งพาบุคคลอื่น ดังนั้นการเตรียมพร้อมการเข้าสู่วัยสูงอายุ จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการจัดการส่งเสริมและป้องกันการเกิดปัญหาต่างๆ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยการประเมินความสามารถทางกายด้านต่างๆ รวมถึงตัวบ่งชี้ทางด้านห้องปฏิบัติการ จึงมีความสำคัญและจำเป็นในกลุ่มประชากรวัยกลางคนที่พร้อมจะเข้าสู่สูงวัย เพื่อให้สามารถประเมิน ติดตาม และวางแผนการส่งเสริมสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          ปัจจุบันการประเมินที่นิยมใช้ในการตรวจคัดกรองความสามารถทางการกายที่ในผู้สูงอายุ เช่น การประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยรวม ความสามารถในการทรงท่า โดยใช้การประเมินอย่างง่ายและการทดสอบความสามารถทางการเคลื่อนไหวต่างๆ การทดสอบการลุกขึ้นยืน ซึ่งนิยมใช้อย่างแพร่หลายในผู้สูงอายุรวมถึงผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ การตรวจองค์ประกอบของร่างกาย (body composition) เพื่อบ่งชี้ถึงมวลไขมัน มวลกล้ามเนื้อ และมวลกระดูในร่างกาย รวมถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อค้นหาสาเหตุของความผิดปกติของผู้ป่วย การตรวจสุขภาพ จึงมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับรายการตรวจและการผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จึงทำให้หลายๆ โรงพยาบาลเอกชน มีโปรแกรมตรวจสุขภาพหลากหลาย โดยเน้นเรื่องชนิดของรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นสำคัญเพื่อประเมินและบ่งชี้ความผิดปกติต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการจัดการและการปฏิบัติตนของบุคคล ได้แก่ การทำงานของระบบไต (renal function) การทำงานของตัว (liver profile) ระดับไขมันในเลือด (Lipid profile) ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ระดับน้ำตาลในเลือด (fasting blood sugar) เป็นต้น
          อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สามารถสร้างแนวทางในการป้องกัน การติดตามรวมถึงเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพทางกายจากผลการตรวจร่างกายของตนเอง จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจประเมินสุขภาพทางกายและผลทางห้องปฏิบัติการ เป็นข้อมูลพื้นฐานในการติดตามและประเมินตนเองต่อไป การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ตรวจและประเมินความสามารถทางกายและผลทางห้องปฏิบัติการในกลุ่มประชากรก่อนสูงวัย รวมถึงกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ขั้นพื้นฐาน อย่างเช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อให้เป็นข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการสร้างแนวทางในการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติต่างๆ รวมถึงประเมิน ติดตาม เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ลดภาระพึ่งพิงได้ในอนาคตต่อไป

คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
1. กลุ่มประชากรในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัย (ชุมชนแม่กา) ประกอบด้วย อสม. ผู้นำชุมชน และคนทั่วไป
2. บุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปี 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) (สมรรถนะของผู้เข้าอบรมเมื่อจบกิจกรรม, สิ่งที่ผู้เข้าอบรมทำได้เมื่อจบกิจกรรม)
1. บุคลากรวัยผู้ใหญ่ตอนปลายในมหาวิทยาพะเยาสามารถดูแลตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพทางกายได้
2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่เป็นแกนนำสุขภาพระดับชุมชนสามารถนำความรู้จากการเข้าโครงการ ไปถ่ายทอดและให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบได้ ทำให้ประชาชนมีสุขภาพทางกายที่ดีขึ้น

ประกอบด้วย 4 หัวข้อการเรียนรู้ ดังนี้

หัวข้อที่ 1 สถานการณ์ผู้สูงอายุ กระบวนการชรา  การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ 
วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กภ.พุทธิพงษ์ พลคำฮัก คณบดีคณะสหเวชศาสตร์

หัวข้อที่ 2 การตรวจประเมินสมรรถภาพทางกายและการแปลผล 
วิทยากรโดย ดร.พนิดา หาญพิทักษ์พงศ์  อาจารย์ประจำสาขาวิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์

หัวข้อที่ 3 การป้องกันและรักษาเพื่อเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุ 
วิทยากรโดย อ.มณฑินี วัฒนสุวกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์

หัวข้อที่ 4 การแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 
วิทยากรโดย ดร.เบญจมาศ สุระเดช และ อ.วิภาสิริ ศรีสุวรรณ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์

  • แบบทดสอบก่อนเรียน

  • สถานการณ์ผู้สูงอายุ กระบวนการชราการเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ
    15.00 นาที

  • การทดสอบสมรรถภาพทางกาย 1/2
    15.15 นาที
  • การทดสอบสมรรถภาพทางกาย 2/2
    15.00 นาที

  • การป้องกันเเละรักษาเพื่อเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุ
    15.15 นาที

  • การแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 1/2
    15.00 นาที
  • การแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 2/2
    15.00 นาที
  • ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
    15.00 นาที

  • แบบทดสอบหลังเรียน

การเตรียมความพร้อมทางกายก่อนสูงวัย

ผู้เรียน 9

เรียนฟรี

  • ลงทะเบียน 9/500
เพิ่มวิชาลงในตะกร้าเรียบร้อยแล้ว
ไปหน้าชำระเงิน
ดำเนินการลงทะเบียนเรียนเรียบร้อยแล้ว
เริ่มเรียน

{{ previewTitle }}
Loading...