พะเยาศึกษา: นกยูงไทย ฐานที่มั่นสุดท้ายของโลก

The last stronghold of green peafowl in the world 

 

วิทยากร

ดร.ฤทัยภัทร พิมลศรี

อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (การท่องเที่ยวและการโรงแรม) คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

 

คำอธิบายหลักสูตร 

          “นกยูงไทย”หรือนกยูงเขียว (Green peafowl) ถือเป็นอัตลักษณ์และคุณค่าสำคัญของภูมิภาค เป็นสัตว์ป่าที่จัดอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าของไทย และ IUCN จัดอยู่ในบัญชี Red-List สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered species) จัดเป็นสัตว์ป่าในบัญชี 2 (Appendix II) แห่ง CITES พบการรายงานว่าในช่วงปี พ.ศ. 2540-2562 ที่ผ่านมา นกยูงสีเขียวมีจำนวนประชากรลดลงอย่างรวดเร็วถึง 50 % และได้สูญพันธุ์ไปแล้วในหลายประเทศ แต่กลับมีการกระจายตัวในเขตภาคเหนือตอนบนจำนวนมากโดยเฉพาะจังหวัดพะเยา แพร่ น่าน เชียงราย เชียงใหม่ และลำพูน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระดับสากลได้ระบุว่า พื้นที่ผืนป่าเหล่านี้ถือเป็น The Last Stronghold of Green Peafowl in The World หรือฐานที่มั่นสุดท้ายของเหล่านกยูงสีเขียวในโลกที่มีอาณาเขตติดต่อกันเป็นดินแดนกว้างใหญ่ อีกทั้งมีความสัมพันธ์กับชุมชนทั้งด้านบวกและลบ ดังที่พบว่า นกยูงไทยได้ลงมารบกวนพื้นที่เกษตรกรรมของประชาชน ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่า เป็นวิกฤตการณ์ที่จำเป็นต้องหาแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาให้ “คนอยู่ได้ นกยูงอยู่ได้” โดยใช้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานนิเวศวัฒนธรรมมาเป็นเครื่องมือ ภายใต้โครงการเส้นทางถิ่นนกยูงไทย ที่จะร้อยเรียงเส้นทางธรรมชาติรูปแบบใหม่ให้แก่พื้นที่ภาคเหนือ ทั้งในผืนป่าซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ (Protected area) อาทิเช่น อุทยานแห่งชาติดอยหลวง (เชียงราย) วนอุทยานร่องคำหลวง (พะเยา) อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง(พะเยา) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ (พะเยา) อุทยานแห่งชาติแม่ยม (แพร่) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบ้านโฮ่ง (ลำพูน) ศูนย์ห้วยฮ่องไคร้ (เชียงใหม่) อุทยานแห่งชาตแม่วงศ์ (ตาก) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (อุทัยธานี) ฯลฯ เป็นต้น ให้เป็นต้นแบบการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่อาศัยนกยูงไทย ไม่ว่าจะเป็นการดูแลรักษาป่า การสร้างฝายแหล่งน้ำให้นกยูงไทย การพัฒนาชุมชนรักษ์นกยูงไทยไร้หมอกควันไฟป่าเพื่อรักษาถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของนกยูงไทยและเพื่อผู้คน เป็นต้น รวมทั้งการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างบูรณาการอย่างยั่งยืน

 

ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย

1. นักเรียน นิสิต และนักศึกษาทั่วไป

2. นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา

3. บุคคลทั่วไปที่สนใจ

 

วัตถุประสงค์  

1. เพื่อการอนุรักษ์นกยูงไทยในถิ่นที่อยู่อาศัย (พื้นที่อนุรักษ์) โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

2. เพื่อถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจในการอนุรักษ์นกยูงไทยเชื่อมโยงมิติต่าง ๆ 

3. เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการอนุรักษ์นกยูงไทยและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

เนื้อหาและหัวข้อในหลักสูตร

1. คำอธิบายรายวิชา

2. ประวัติความเป็นมา ความสำคัญของนกยูงในด้านต่าง ๆ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างนกยูงและกลุ่มคน 

3. ลักษณะทางกายภาพของนกยูงไทย ที่มีความแตกต่างจากนกยูงอื่น ๆ  

4. ความเชื่อ ความศรัทธาที่กลุ่มคนมีต่อนกยูง  

5. แนวทางในการอนุรักษ์นกยูงไทยอย่างยั่งยืน

 

กิจกรรมในหลักสูตร การวัดผลและประเมินผล/เกณฑ์การให้คะแนนเพื่อรับใบประกาศนียบัตร 

► เข้าทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test) 

ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้ 

 

  • คำอธิบายรายวิชา
    1.17 นาที

  • แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test)

  • บทเรียน "นกยูงไทย" ฐานที่มั่นสุดท้ายของโลก
    13.41 นาที

  • แบบทดสอบหลังเรียน (Post-test)

นกยูงไทย ฐานที่มั่นสุดท้ายของโลก

ผู้เรียน 3349

เรียนฟรี

  • ลงทะเบียน 981/10000
เพิ่มวิชาลงในตะกร้าเรียบร้อยแล้ว
ไปหน้าชำระเงิน
ดำเนินการลงทะเบียนเรียนเรียบร้อยแล้ว
เริ่มเรียน

{{ previewTitle }}
Loading...