หลักสูตร "การใช้งานอุปกรณ์โลกเสมือน (Virtual Reality: VR) เพื่อการศึกษาเบื้องต้น"
(Using Virtual Reality for Basic Study)
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
นายชัชวาลย์ รัฐบำรุง
ศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายวิธีการใช้งานอุปกรณ์โลกเสมือนได้
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้งานอุปกรณ์โลกเสมือนได้
เหตุผลและความจำเป็นในการจัดการศึกษา
ศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นหน่วยงานสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้า และการวิจัยของนิสิตและบุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา รวมทั้งให้บริการทรัพยากรสารสนเทศแก่ประชาชนในพื้นที่ใกล้ เคียงศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ ถือได้ว่าเป็นแหล่งสารสนเทศที่มีบทบาทต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นอย่างยิ่ง และส่งเสริมให้บุคลากรและนิสิตได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศทั้งในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยี รวมทั้งการจัดบริการสารสนเทศต่าง ๆ ที่หลากหลายและทันสมัยตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคปัจจุบัน ประกอบกับ ศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้มีแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการและสามารถให้บริการกับผู้ใช้ภายในมหาวิทยาลัยพะเยาอย่างเต็มขีดความสามารถ
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลให้การเรียนรู้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น การเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์โลกเสมือน Virtual Reality: VR) จะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะต่างๆ ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและยังสามารถเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ร่วม ในการเรียนรู้กับบุคคลอื่นได้ และช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลและเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เฉพาะ ซึ่งทำให้กระบวนการเรียนรู้เป็นไปอย่างอิสระและยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้มีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การใช้อุปกรณ์โลกเสมือน (Virtual Reality: VR) เป็นเครื่องมือในส่งเสริมการเรียนรู้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการศึกษาได้โดยมีประโยชน์ทั้งในระดับการศึกษาพื้นฐานและการศึกษาสูง
ดังนั้น จึงได้พัฒนาการส่งเสริมการเรียนรู้ เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์โลกเสมือน (Virtual Reality: VR) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายขั้นตอนการใช้งานอุปกรณ์เสมือนได้ และสามารถใช้งานอุปกรณ์โลกเสมือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติของผู้เรียน
1. นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา
2. บุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา
ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes)
1. ผู้เรียนสามารถอธิบายวิธีการใช้งานอุปกรณ์โลกเสมือนได้
2. ผู้เรียนสามารถใช้งานอุปกรณ์โลกเสมือนได้
- แบบทดสอบก่อนเรียน
-
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุปกรณ์โลกเสมือน (Virtual Reality: VR)3.00 นาที
-
การใช้งานอุปกรณ์โลกเสมือน (Virtual Reality: VR)3.00 นาที
- แบบทดสอบหลังเรียน
การใช้งานอุปกรณ์โลกเสมือน (Virtual Reality: VR) เพื่อการศึกษาเบื้องต้น
ผู้เรียน 16
เรียนฟรี
- ลงทะเบียน 16/1000