หลักสูตร "การใช้งานฐานข้อมูล Scopus เบื้องต้น"
(Introduction to Scopus)
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ปัณณธร วุฒิปริยาธร
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้งานฐานข้อมูล Scopus เบื้องต้นได้
เหตุผลและความจำเป็นในการจัดการศึกษา
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนของคณาจารย์และนิสิตในสถาบันอุดมศึกษา โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลให้พฤติกรรมการเรียนรู้ของบุคคลในสังคมเปลี่ยนไป ผู้เรียนมีความต้องการเข้าถึงองค์ความรู้ที่สะดวก รวดเร็ว มีแหล่งให้บริการองค์ความรู้ที่เพียงพอต่อความต้องการ ตลอดจนมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่าง และสามารถเลือกเรียนรู้ หรือศึกษาค้นคว้าในสิ่งที่ตนเองสนใจได้ตามนโยบายสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ มีภารกิจในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ แนะนำแหล่งบริการสารสนเทศ ตลอดจนให้บริการสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้จัดให้บริการอบรมการรู้สารสนเทศ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอด และประยุกต์ใช้กับการแสวงหาสารสนเทศทั้งจากฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยบอกรับเป็นสมาชิก และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัย เช่น ฐานข้อมูล Scopus ฐานข้อมูล UpToDate และฐานข้อมูล Lexicomp เป็นต้น
ฐานข้อมูล Scopus เป็นฐานข้อมูลภายใต้สำนักพิมพ์ Elsevier ที่ให้บริการสาระสังเขปและอ้างอิงบทความวิชาการที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewed) ที่ใหญ่ที่สุด ครบครันด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่นักวิจัยสามารถสืบค้น และใช้งาน เพื่อติดตาม วิเคราะห์ และแสดงภาพรวมของงานวิจัยโดยฐานข้อมูลดังกล่าวได้รวบรวมสิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ จากสำนักพิมพ์ทั่วโลกมากกว่า 5,000 แห่ง ครอบคลุมศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การแพทย์ สังคมศาสตร์ รวมทั้งศิลปะ และมนุษยศาสตร์ ปัจจุบันฐานข้อมูล Scopus มีบทความที่ตีพิมพ์มากกว่า 67 ล้านบทความ ย้อนไปตั้งแต่ปี 1823 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ เพื่อให้การสนับสนุนการผลิตผลงานทางวิชาการ และอำนวยความสะดวกในการผลิตผลงานทางวิชาการของคณาจารย์และนักวิจัย สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ โดยศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ จึงจัดซื้อฐานข้อมูล Scopus มาให้บริการ รวมทั้งมีบริการแนะนำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้งานฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานและสืบค้นข้อมูลที่ต้องการจากฐานข้อมูล Scopus ในเบื้องต้นได้ ตลอดจนเป็นการการส่งเสริมการใช้งานฐานข้อมูล Scopus ให้คุ้มค่ากับงบประมาณในการจัดซื้ออีกด้วย
คุณสมบัติของผู้เรียน
1. บุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา
2. นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา
ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes)
1. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถอธิบายการใช้งานฐานข้อมูล Scopus เบื้องต้นได้
2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้งาน และสืบค้นข้อมูลที่ต้องการจากฐานข้อมูล Scopus ในเบื้องต้นได้
- แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test)
-
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ Scopus1.00 นาที
-
การสร้างบัญชีผู้ใช้2.00 นาที
-
การเข้าสู่ระบบ (Sign in)1.30 นาที
-
การสืบค้นข้อมูล (Document Search)1.50 นาที
-
การสืบค้นข้อมูล (Author Search)8.00 นาที
-
การสืบค้นข้อมูล (Research Discovery)2.50 นาที
-
การสืบค้นข้อมูล (Organization Search)8.00 นาที
- แบบทดสอบหลังเรียน (Post-test)
การใช้งานฐานข้อมูล Scopus เบื้องต้น
ผู้เรียน 41
เรียนฟรี
- การใช้งานฐานข้อมูล Scopus เบื้องต้น 41/1000