หลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารระดับกลาง รุ่นที่ 1 (UP COMMUNITY 2023)
หลักการของหลักสูตร
ทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนองค์กรหรือธุรกิจให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันได้ในยุคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ การพัฒนาศักยภาพผู้บริหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความยั่งยืนของทุกองค์กร รวมถึงมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยพะเยาเป็นสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและแบ่งปันความรู้ นวัตกรรม และการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ที่นอกจากจะส่งเสริมความเข้มแข็งทางสังคมและเศรษฐกิจแล้วยังมุ่งสู่การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันระดับสากล การที่มหาวิทยาลัยมีผู้บริหารที่มีศักยภาพ มีความรู้และทักษะที่หลากหลาย ผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิต การมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และการสามารถพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการกลยุทธ์เพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กร จะสามารถนำพามหาวิทยาลัยพะเยาไปสู่ความสำเร็จและความเป็นเลิศได้
มหาวิทยาลัยพะเยาให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรในทุกระดับ โดยกำหนดเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลัก การพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และมีธรรมาภิบาลโดยมีเป้าประสงค์ เพื่อการพัฒนาผลการปฏิบัติงานและการพัฒนาที่ดีและมีประสิทธิภาพ (Performance Management And Development) นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างค่านิยมความรัก ความผูกพัน และการมีส่วนร่วมในองค์กร (Workforce Engagement) และ เป็นการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้เกิดการสื่อสาร ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรที่ดีร่วมกัน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหารระดับกลางของมหาวิทยาลัย
2. เพื่อพัฒนาพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างผู้เข้ารับการอบรม
3. เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้บริหารระดักลางงของมหาวิทยาลัยให้เกิดความร่วมมือในการ พัฒนามหาวิทยาลัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน
4. เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพและแรงบันดาลใจในการพัฒนากระบวนการบริหารงาน
5. เพื่อสื่อสารเป้าหมายและค่านิยมร่วมของมหาวิทยาลัยให้แก่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผลลัพธ์การเรียนรู้ (LOs)
1. ผู้ผ่านการอบรมสามารถกำหนดวิสัยทัศน์หรือวางนโยบายการพัฒนาองค์กรให้สอดคล้องกับบริบทและความท้าทายขององค์กรได้
2. ผู้ผ่านการอบรมสามารถวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรเพื่อขับเคลื่อนองค์กรตามวิสัยทัศน์กลยุทธ์และส่งเสริมค่านิยมขององค์กรได้
3. ผู้ผ่านการอบรมเกิดความผูกพันกับองค์กร และมีคุณลักษณะของการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้บริหารระดับกลางประกอบด้วย รองหัวหน้าส่วนงาน ผู้ช่วยอธิการบดี และผู้ช่วยหัวหน้าส่วนงาน จำนวนไม่เกิน 100 คน
โครงสร้างหลักสูตร
ประกอบด้วย 3 โมดูล (Module) ดังนี้
Module 1: Frontier- area based University จำนวน 9 ชั่วโมง
- การบริหารมหาวิทยาลัยบนความท้าทาย
- มหาวิทยาลัยกับพันธกิจสัมพันธ์ชุมชน (Community Engagement)
- การสร้างความเป็นเลิศในการบริหารมหาวิทยาลัย (EdPEx)
Module 2: Higher Education Administration จำนวน 18 ชั่วโมง
- การวางแผนกลยุทธ์และงบประมาณ
- การวางแผนการสื่อสารและการสร้างความผูกพันองค์กร
- การวางแผนการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากร
- การวางระบบการจัดการข้อมูล (Data Science) เพื่อการบริหาร
- การบริหารการเงิน การคลัง และพัสดุ
- กฎหมายและกฎระเบียบ และธรรมาภิบาล สำหรับผู้บริหาร
Module 3: Innovative Community Development จำนวน 18 ชั่วโมง
- การวางแผนการพัฒนานวัตกรรมชุมชน (อบรมเชิงปฏิบัติการ)
- การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม
Module 4: Reinventing University Planning จำนวน 15 ชั่วโมง
- การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัย (อบรมเชิงปฏิบัติการ)
- การนำเสนอแผนการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย
การรับรองผลการฝึกอบรม
ผู้ผ่านการฝึกอบรมจะต้องมีเวลาในการเข้ารับอบรมอย่างสม่ำเสมอ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งหมด และเข้าร่วมกิจกรรมตามหลักสูตรกำหนด จึงจะได้รับวุฒิบัตรรับรองการฝึกอบรมจากมหาวิทยาลัยพะเยา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการส่วนงาน ให้บรรลุเป้าหมายของส่วนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีสมรรถนะด้านการบริหารจัดการและเป็นผู้นำองค์กรที่มีวิสัยทัศน์เพื่ออนาคตได้
3. ผู้รับการฝึกอบรมมีความผูกพันองค์กรและสามารถขยายความผูกพันสู่ผู้ปฏิบัติงานในส่วนงานได้
- วันพุธที่ 10 มกราคม 2567 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และบรรยาย เรื่อง การวางแผนกลยุทธ์และงบประมาณ โดย รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยพะเยา (รองศาสตราจารย์ ดร.ฐิติรัตน์ เชี่ยวสุวรรณ)
- วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม 2567 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และบรรยาย เรื่อง มหาวิทยาลัยกับพันธกิจสัมพันธ์ชุมชน (Community Engagement) โดย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา (ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย)
- วันพุธที่ 17 มกราคม 2567 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และบรรยาย เรื่อง การพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรและเทคนิคการสร้างความผูกพัน โดย ศาสตราจารย์ กิตติคุณ นพ.สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล (คณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานการศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
- วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2567 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และบรรยาย เรื่อง การวางระบบการจัดการข้อมูล (Data Science) เพื่อการบริหาร โดย รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐสิทธิ์ สุขะหุต (รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
- วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2567 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และบรรยาย เรื่อง การพัฒนาคุณภาพองค์กรสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืนและบทบาทผู้นำในการสร้างความเป็นเลิศ (EdPEx) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.บวร ปภัสราทร (คณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานการอุดมศึกษา และผู้ประเมิน EdPEx200 สำนักงานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
- วันพุธที่ 20 มีนาคม 2567 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และบรรยาย เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมชุมชน ภายใต้แนวคิด “คน-ของ-ตลาด” โมเดล (อบรมเชิงปฏิบัติการ) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ และทีมวิทยากร (สถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชน และผู้อำนวยการกรอบวิจัย Local Enterprises หน่วย บพท.)
- วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2567 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และบรรยาย เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมชุมชน (อบรมเชิงปฏิบัติการ) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พีรเดช ทองอำไพ (ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ) และรองศาสตราจารย์ ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ (ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี)
- วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2567 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และบรรยาย เรื่อง ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI: Return on Investment) กับ ผลตอบแทนทางสังคม (SROI: Social Return on Investment) ต่างกันอย่างไร โดย ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย (รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา) และคณะ
- วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2567 การฝึกการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI: Social Return on Investment): กรณีตัวอย่าง โครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา (ภาคปฏิบัติการ) โดย ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย (รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา) และคณะ
- วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2567 บรรยายพิเศษและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัย : การวางแผนการพัฒนาองค์กรดิจิทัล โดย ศาตราจารย์ ดร.สุรินทร์ คำฝอย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2567 บรรยายพิเศษและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัย : ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์เพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- วันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2567 บรรยายพิเศษและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัย : เครื่องมือและเทคนิควิธีการบริหารองค์กรเพื่อความเป็นเลิศ (อบรมเชิงปฏิบัติการ) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ มุ่งวัฒนา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2567 การนำเสนอแนวคิดมหาวิทยาลัยพะเยาสู่ความยั่งยืน โดย ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน : อธิการบดี พร้อมทีมผู้บริหาร และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก : รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ มุ่งวัฒนา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารระดับกลาง รุ่นที่ 1 (UP COMMUNITY 2023)
ผู้เรียน 0
เรียนฟรี